WELCOME TO SOIL TEST (THAILAND) CO.,LTD.

หน้าแรก > งานบริการ > งานเจาะสำรวจ Soil Investigation

การเจาะสำรวจชั้นดินเพื่อการออกแบบโครงสร้างฐานราก

บทนำ
การเจาะสำรวจข้อมูลของชั้นดินจากชั้นผิวดินลึกลงไปในระดับที่ต้องการ เป็นสำรวจข้อมูลดินทั้งงานสนามและงานทดสอบห้องทดลอง งานสนามจะประกอบไปด้วยขั้นตอนการจัดเก็บตัวอย่าง (Soil Sampling) และ การทดสอบตอกทะลวงแบบมาตรฐาน (standard penetration tests)

อุปกรณ์

56478

  • เครื่องเจาะสำรวจแบบหัวหมุน(Rotary Boring Machine) (see Fig.1)

  • ก้านเจาะ (Drill Rod)
  • เครื่องสูบน้ำ (Water Pump)
  • กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง (Thin wall Sampler Ø 75 mm. x 750 mm.
  • ชุดทั่งตอกและเหล็กนำ (Drive Weight 140 lbs)
  • โครงสามขา
  • กระบอกผ่า Ø 1 ½ ”
  • ก้านเจาะพร้อมข้อต่อ (Casing)
  • และอุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เช่น ค้อน,ประแจ





ขั้นตอนการทำงาน

  • การเจาะหลุมเจาะปฏิบัติการโดยใช้ชุดเครื่องเจาะแบบหัวหมุน และปรับระยะอุปกรณ์การเจาะต่างๆให้เรียบร้อย
  • การเจาะหลุมเจาะในชั้นดิน จะใช้ท่อกันดินขนาดพอเหมาะเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.5-10 ซม. การเจาหลุมเจาะจะใช้การเจาะแบบฉีดล้างเป็นหลัก ในระหว่างทำการเจาะลึกลงไปจะทำการป้องกันหลุมเจาะไม่ให้ถล่ม.
การเจาะสำรวจชั้นดิน จะหยุดการเจาะก็ต่อเมื่อพบอย่างใดอย่างหนึ่งตามรายการดังนี้.
  • ได้ตามความลึกที่ต้องการตามที่ระบุไว้(จากเจ้าของงาน)
  • ชั้นหิน หรือกรวด หรือ ชั้นดินแข็งมาก
  • Standard Penetration Test (SPT) มากกว่า 50 Blows /6″ หรือค่า SPT รวมกันมากกว่า 100 Blows ในกรณีที่วัดเป็น Partial Increment (คือวัดค่าได้ 100 Blows ในขณะที่ตอกกระบอกผ่าจมดินได้ไม่ถึง 18 นิ้ว) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
  • เก็บตัวอย่างชั้นดินที่ทุกๆ 0.5m.ในระยะ3.00 ม.แรกและหลังจากนั้นจะเก็บตัวอย่างที่ทุกๆ 1.50 ม. จึงถึงระดับดินลึกที่ต้องการ โดยใช้กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง.
  • ทดสอบการทะลุทะลวง แบบมาตรฐาน ( Standard Penetration Test (SPT)) จะทำการทดสอบที่ระยะทุกๆ 0.50 ม. ในระยะ3.00 ม.แรก หลังจากนั้นทดสอบอีกที่ทุกระยะ 1.5 ,จึงถึงชั้นดินที่ต้องการ.
  • การวัดระดับน้ำใต้ดิน จะทำหลังเจาะหลุมเจาะเรียบร้อย 24 ชม.
  • การทดสอบตัวอย่างดินที่เก็บจากสนามจะทำการทดสอบตัวอย่างในห้องทดลองดังต่อไปนี้
สำหรับดินประเภท Cohesive soil สำหรับดินประเภท Cohesion less soil
  • ทดสอบการร่อนตะแกรง (Sieve analysis)
  • ทดสอบการร่อนตะแกรง (Sieve analysis)
  • ทดสอบ Atterberg Limits (เลือกทดสอบ)
  • ทดสอบ Atterberg Limits
  • ทดสอบหน่วยน้ำหนัก
  • ทดสอบหน่วยน้ำหนัก
  • ปริมาณความชื้น
  • ปริมาณความชื้น
  • ทดสอบ Unconfined (สำหรับดินเหนียวที่ต้องการทดสอบ-option)

สรุปผลรายงาน
รายงานผลการเจาะสำรวจชั้นดินจะรางานผลต่างๆ ประกอบไปด้วยดังนี้:

  • วิธีการและขั้นตอนการเจาะ, การเก็บตัวอย่างในสนามและการทดสอบในห้องทดลอง.
  • กราฟแสดงชั้นดินและคุณสมบัติต่างๆ (Boring Log)
  • สรุปผลข้อแนะนำกำลังต้านทานของดินในส่วนโครงสร้างของฐานรากตื้น,เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะ
  • สรุปผลการทดสอบในห้องทดลองต่าง
  • ตำแหน่งที่ตั้งสำหรับเจาะสำรวจ
  • รายการคำนวณ และ ทฤษฏี

มาตราฐานอ้างอิง
ขั้นตอนการทดสอบจะสอดคล้องและอ้างอิงตามมาฐาน ASTM ตามรายการด้านล่าง

  • ASTM D 1586
  • ASTM D 1587

ตัวอย่างผลการทดสอบ งานเจาะสำรวจชั้นดิน Soil Investigation

1411421431442350123502235032350423506235072350823509